Gross Domestic Production (GDP) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจ

Home / Money / Gross Domestic Production (GDP) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจ

Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ คือ จำนวนมูลค่าตลาดของสินค้าต่างๆรวมทั้งบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งมีการผลิตในประเทศภายใต้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยยกตัวอย่าง เช่น ส่วนใหญ่แล้วธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ BOT จะมีการประมาณการล่วงหน้า และจะค่อยๆส่งข้อมูลออกมาให้ประชาชนทราบเป็นไตรมาส

GDP เกิดขึ้นมาเพราะอะไร , มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร

เมื่อมีระบบเศรษฐกิจ ย่อมมีการหมุนเวียนตามมา ทั้งในเรื่องของรายได้กับรายจ่าย ในครัวเรือน, ภาคธุรกิจ, ภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ พูดง่ายๆคือการที่ประชาชนมีงานทำ – มีรายได้ สามารถนำมาใช้จ่ายในตลาดสินค้าและซื้อบริการต่างๆ , การจ่ายภาษีให้แก่รัฐ, ถ้ามีเงินเหลือเก็บ ก็นำไปออมในสถาบันการเงิน หรือนำมาลงทุนในธุรกิจ,ตลาดหลักทรัพย์, ซื้อหุ้นรวมทั้งกองทุนต่างๆ เป็นต้น ทางภาคธุรกิจก็จะมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ พร้อมทั้งมีการจ่ายดอกเบี้ย , จ่ายค่าแรง , จ่ายตลาดปัจจัยการผลิต , จ่ายภาษีรายได้ , จ่ายมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาครัฐ เป็นต้น ส่วนทางภาครัฐก็มีรายได้จากภาษีต่างๆ เพื่อนำมาใช้จ่ายสาธารณูปโภค, ส่งเสริมให้ภาคครัวเรือนรวมทั้งภาคธุรกิจสร้างรายได้จนก่อเกิดเป็น รายได้ประชาชาติ จนสามารถวัดผลเป็น ผลผลิตมวลรวมของประชาชาติ ซึ่งเป็นตัวเลขอันเก็บรวบรวมมาจากผลผลิตทั้งในภาคครัวเรือน , ภาครัฐ ,ภาคธุรกิจ อีกทั้ง GDP ยังเป็นการวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆได้อีกด้วย

ตามปกติทั่วไปแล้วถ้าผลลัพธ์ออกมาเป็นบวก แปลว่า GDP มีการเจริญเติบโตมากขึ้น ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี หมายความว่าเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตมากขึ้น เป็นการดูว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดีนั่นเอง แต่ความจริงแล้วการที่ยึดติดกับการดูอย่างเดียวมากจนเกินไป มันก็จะเป็นการมองแค่ด้านเดียว เนื่องจากการที่ GDP เพิ่มขึ้นบางครั้งก็อาจมาจากการที่ประเทศเป็นหนี้ก็ได้เช่นกัน เมื่อประเทศกู้เงินมาใช้จ่ายในด้านการบริโภคหรือนำไปลงทุนเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าก็จะทำให้ตัว Consumptionกับ Investment ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของ GDP มีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้ามองแค่ภาพที่เราเห็นก็คือ เป็นภาพที่เศรษฐกิจดำลังโตขึ้นเพราะ GDP เป็นบวกนั่นเอง

แต่สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันนี้ การเก็บข้อมูลหลัก ก็มาจากข้อมูลของสรรพากรเท่านั้น รวมทั้งเป็นการเรียกเก็บภาษีจากธุรกรรมต่างๆ เนื่องจากระบบภาษีของประเทศไทย ยังค่อนข้างหละหลวม ทำให้เก็บได้ไม่ทั่วถึงสักเท่าไหร่ กรณีที่เป็นพวกธุรกรรมเงินสดต่างๆ ก็ยังไม่มีการตรวจสอบอย่างแน่นอน จึงทำให้มูลค่าการซื้อ-ขายเหล่านี้ ไม่ได้ถูกมาคำนวณรวมด้วย จนทำให้ได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไป