ประวัติของธนบัตรไทย และขั้นตอนกว่าจะมาเป็นธนบัตรที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้

Home / Money / ประวัติของธนบัตรไทย และขั้นตอนกว่าจะมาเป็นธนบัตรที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้

ธนบัตรถือเป็นรูปแบบของเงินตราประเภทหนึ่งที่เอาไว้สำหรับแลกเปลี่ยนในการซื้อขายสิ่งของต่างๆ แต่ในอดีตสำหรับประเทศไทยเราก่อนที่จะมีธนบัตรก็เคยได้ใช้งานรูปแบบเงินตราอื่นๆ มาใช้งานเหมือนกันไม่ว่าจะเป็น หอยเบี้ย, ประกับ คือ เป็นดินเผาที่มีตราประทับ, เงินพดด้วง, ปี๋กระเบื้อง และเหรียญกษาปณ์ ก่อนจะมาเป็นธนบัตรซึ่งมีประวัติน่าสนใจดังนี้

ประวัติของธนบัตรไทย

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีพร้อมเปิดการค้ากับต่างประเทศมากขึ้นทำให้การผลิตเงินพดด้วงสมัยนั้นผลิตไม่พอต่อการใช้งานนอกจากนี้ยังมีเงินพดด้วงปลอมออกกระจัดกระจายเต็มไปหมด กระทั่งปี 2396 พระองค์ท่านจึงโปรดให้ใช้กระดาษทำเป็นเงินเรียกว่า หมาย หมายเป็นกระดาษสีขาว ลายทำจากหมึกดำ ประทับตราประจำพระราชวงศ์จักรีรูปพระแสงจักร และราชลัญจกรประจำพระองค์รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ด้วยสีแดงชาด ป้องกันการปลอม ต่อมาปี 2415-2416 สมัยรัชกาลที่ 5 เกิดปัญหาเหรียญกษาปณ์ราคาต่ำขาดแคลนพร้อมมีการนำปี๋มาใช้แทน ปี 2417 พระองค์ท่านจึงโปรดให้ทำเงินกระดาษราคาต่ำเรียกว่า อัฐกระดาษ ต่อมาได้มีการใช้เป็นบัตรธนาคาร หลังมีธนาคารพาณิชย์มาเปิดสาขาในไทยเป็นครั้งแรก ลักษณะคล้ายตั๋วเงินประเภทหนึ่งเป็นการชำระหนี้ระหว่างธนาคารกับลูกค้าทำให้มีผู้ใช้ไม่เยอะนัก แต่ด้วยการที่ใช้งานนานกว่า 13 ปีทำให้คนไทยติดเรียกว่า แบงก์โน้ต หรือ แบงก์ จนเป็นที่มาที่เราเรียกกันทุกวันนี้ เงินกระดาษหลวง เป็นการออกตั๋วเงินของกระทรวงพระคลับมหาสมบัติกระทั่งปี 2445 ก็ได้เริ่มมีการนำเอาธนบัตรมาใช้กันอย่างกว้างขวางและจริงจังเหมือนอย่างเช่นทุกวันนี้

กว่าจะมาเป็นธนบัตรที่ใช้การทุกวันนี้มีขั้นตอนอะไรบ้าง

  1. ออกแบบธนบัตร – กำหนดเรื่องราว ภาพ ข้อความที่จะใช้ ส่วนใหญ่เป็นภาพเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ของไทย จัดองค์ประกอบภาพด้วยการเขียนลวดลาย ลงสี ให้คล้ายจริง
  2. ผลิตแม่แบบแม่พิมพ์ – คือการผลิตต้นฉบับสำหรับการเป็นแม่แบบเพื่อผลิตแม่พิมพ์ธนบัตร ทั้งแกะแผ่นโลหะด้วยมือเพื่อทำเป็นเส้นนูน เขียนลวดลายสีด้วยคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ด้วยการอาศัยคามชำนาญแลประณีตที่สุด
  3. พิมพ์ธนบัตร – มีการพิมพ์สีพื้น พิมพ์เส้นนูน และพิมพ์เลขหมายพร้อมลายเซ็นเพื่อให้ธนบัตรที่ออกมาใช้งานมีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด
  4. ตรวจสอบคุณภาพ – ธนบัตรทุกแผ่นต้องการผ่านการตรวจสอบจำนวนทุกครั้งโดยละเอียด ไล่ตั้งแต่กระดาษเปล่า การตัดสำเร็จรูป แบ่งเป็น แผ่นพิมพ์ดี, แผ่นพิมพ์ชำรุดบางส่วน และแผ่นพิมพ์เสีย
  5. ผลิตธนบัตรสำเร็จรูป – เมื่อพิมพ์เลขหมายและลายเซ็นเสร็จจะถูกส่งให้ไปผลิตเป็นธนบัตรสำเร็จรูปด้วยการตัดเป็นฉบับ รัดแหนบ มัดและห่อด้วยพลาสติก ทุกขั้นตอนต้องมีการตรวจนับ